จุดประสงค์ของการให้คะแนนคริปโท (Crypto Rating)
กล่าวกันว่า มีสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency) มากกว่า 23,000 สกุลทั่วโลก ณ ปี ค.ศ. 2023 ในขณะที่บางคริปโทก็มีชื่อเสียงมากจนปรากฏอยู่ในสื่อทุกวัน เช่น Bitcoin และ Ethereum ซึ่งที่มีจำนวนมากกว่าในนั้นก็คือ อัลท์คอยน์ (altcoin) แต่การมีอยู่อย่างต่อเนื่องของมันไม่แน่นอน การลงทุนในอัลท์คอยน์นั้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ขณะที่คนหลายคนได้รับผลตอบแทน 700% จากการลงทุนในอัลท์คอยน์อย่างชาญฉลาด แต่บางคนก็สูญเสียเงินทุนไปครึ่งหนึ่งในวันเดียว
Coin-Labs.com ตรวจสอบคริปโทเคอร์เรนซีที่หลากหลายเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นกลางและทันสมัยแก่นักลงทุนของเรา นอกจากนี้ เรายังประเมินและจัดทำดัชนีเหรียญตามเกณฑ์ที่หลากหลายเพื่อช่วยในการตัดสินใจลงทุนของคุณด้วย Coin-Labs.com มีเป้าหมายเพื่อให้นักลงทุนของเราได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ดีขึ้นผ่านข้อมูลดังกล่าว และช่วยให้พวกเขาเลือกและตัดสินใจได้ดีขึ้น
เว็บไซต์ที่ให้คะแนนคริปโท
Coin-Labs.com เป็นเว็บไซต์แรกที่ให้คะแนนคริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ที่จดทะเบียนในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายของเกาหลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 เราได้ทำการประเมินและให้คะแนนคริปโทเคอร์เรนซีที่จดทะเบียนในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายของเกาหลี เช่น Bithumb และ Coinone อย่างเป็นกลางเพื่อปกป้องนักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี จากเหรียญหลอกลวงต่าง ๆ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021 นั้น Coin-Labs.com ได้รับความสนใจจากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายคริปโทของเกาหลีตอนที่ให้คะแนน Bananatok Coin (BNA) ต่ำกว่า 1 เป็นครั้งแรก และการให้คะแนนคริปโทของเราก็ได้รับการยอมรับเนื่องจาก BNA Coin ถูกเพิกถอนจากทุกแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันเนื่องจากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ไม่ดี
เราให้คะแนนคริปโทเคอร์เรนซีอย่างไร
Coin-Labs.com ประเมินคริปโทเคอร์เรนซีตามเกณฑ์ส่วนใหญ่ 6 ข้อ เกณฑ์การประเมิน 6 ข้อ ข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีที่ใช้และตัวย่อมีดังต่อไปนี้ ซึ่งจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 – 10
เกณฑ์การให้คะแนนคริปโท
- อัตราการเปิดใช้งานของบริษัท (CAR)
- อัตราการสื่อสาร (CR)
- อัตราความโปร่งใสทางเทคโนโลยี (TTR)
- อัตราการมีส่วนร่วมในการพัฒนา (DPR)
- อัตราความสามารถในการจดทะเบียน (LAR)
- อัตราของเงินทุนเคลื่อนย้าย (CFR)
ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินสามารถดูได้จากด้านล่าง
1. อัตราการเปิดใช้งานของบริษัท (CAR)
อัตราการเปิดใช้งานของบริษัทบ่งชี้ถึงผลลัพธ์ของการประเมินสถานะการดำเนินงานของบริษัทหรือองค์กรที่ออกคริปโทที่เกี่ยวข้อง สำหรับไว้ใช้ในการอ้างอิงก็คือ CAR เป็นดัชนีที่สำคัญที่สุดในการทำความเข้าใจสถานะของการจัดการคริปโทเคอร์เรนซี ในขณะที่เราทำการวิจัยเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี เราแทบจะไม่ค่อยเจอกรณีที่คริปโทได้รับการจดทะเบียนในตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายมากกว่าสองแห่งแต่บริษัทไม่ได้ดำเนินงานจริง ๆ มีแม้กระทั่งกรณีที่บริษัทได้ล้มละลายไปแล้ว หรือบริษัทเปล่าซึ่งไม่มีสินทรัพย์/การดำเนินงานทางธุรกิจจากการเก็งกำไรหรือการปั่นตลาด
CAR เป็นดัชนีที่ระบุข้อมูลดังกล่าวอย่างครอบคลุม ดังนั้น จึงควรต้องระมัดระวังอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีที่มี CAR ต่ำ ปัจจัยตัวแทนที่ Coin-Labs.com พิจารณาสำหรับการประเมิน CAR มีดังต่อไปนี้
- ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่น ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ อำนาจทางกฎหมายของบริษัท เป็นต้น
- สถานภาพของผู้ติดต่อในองค์กรที่มีอยู่จริง เช่น ที่อยู่อีเมลทางการ หมายเลขโทรศัพท์ในท้องถิ่น เป็นต้น
- บันทึกการขาย/การซื้อของบริษัทหรือองค์กรตามช่วงเวลา
- สถานะของเว็บไซต์แนะนำคริปโทเคอร์เรนซีและเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัท
- ประกาศรับสมัครงานล่าสุด
- บันทึกการประกันภัยของบริษัท
- บริษัทหรือองค์กรได้ดำเนินการโฆษณาผ่านสื่อที่มีชื่อเสียงเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่
- ระดับการเปิดใช้งานหน้า LinkedIn ของผู้บริหารบริษัท
2. กิจกรรมทางโซเชียลมีเดียและการสื่อสาร (CR)
อัตราการสื่อสารบ่งชี้ว่า ผู้ออกหรือนักพัฒนาคริปโทสื่อสารกับนักลงทุนหรือโลกภายนอกผ่านโซเชียลมีเดียได้ดีแค่ไหน นักลงทุนมักจะสงสัยเกี่ยวกับหลายสิ่งหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาลงทุน เช่น ความคืบหน้าของการพัฒนาหรือแผนการจดทะเบียนในอนาคต และหากนักพัฒนาสามารถตอบคำถามและตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของนักลงทุนผ่านโซเชียลมีเดียได้ นักลงทุนก็จะสร้างความไว้วางใจในคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงที่ความไว้วางใจนี้จะทำหน้าที่เป็นรากฐานให้กับการซื้อเพิ่มเติม อันจะนำไปสู่มูลค่าที่เพิ่มขึ้นและด้วยเหตุนี้จึงเป็นการสร้างวงจรที่ดี
ในเรื่องนี้ CR ถือได้ว่าเป็นดัชนีที่แสดงระดับของกิจกรรมบนโซเชียลมีเดียในความหมายที่แคบ แต่ก็สามารถตีความได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้วงจรที่ดีที่สร้างขึ้นผ่านการสื่อสารกับนักลงทุนในความหมายที่กว้างขึ้น นอกจากนี้ CR ยังได้รับอิทธิพลจากจำนวนคริปโทเคอร์เรนซีที่เกี่ยวข้องที่มีการพูดถึงในหมู่นักลงทุนบนโซเชียลมีเดียด้วย ปัจจัยตัวแทนที่ Coin-Labs.com พิจารณาสำหรับการประเมิน CR มีดังต่อไปนี้
- ประเภทของโซเชียลมีเดียที่ใช้ในการสื่อสาร (Twitter, Facebook ฯลฯ)
- บริษัทใช้แพลตฟอร์มของการส่งข้อความที่อนุญาตให้มีการสื่อสารโดยตรงหรือไม่ (Discord, Telegram ฯลฯ)
- ช่วงเวลาและรอบการโพสต์ของนักพัฒนาบนโซเชียลมีเดีย เช่น Reddit, Twitter ฯลฯ
- ตอบคำถามผ่านโซเชียลมีเดียได้ดีแค่ไหน
- จำนวนการกล่าวถึงคริปโทเคอร์เรนซีบนโซเชียลมีเดีย
3. ความโปร่งใสทางเทคโนโลยี (TTR)
อัตราความโปร่งใสทางเทคโนโลยีจะบ่งชี้ว่ามีการเปิดเผยเทคโนโลยีที่ใช้กับคริปโทโดยบริษัทหรือองค์กรที่ออกคริปโทนั้นได้ดีในระดับไหน นอกจากนี้แล้ว TTR ก็ยังเป็นดัชนีที่ประเมินเทคโนโลยีของคริปโทเคอร์เรนซีที่เปิดให้กับสาธารณชนทั่วไปด้วย
เกินกว่า 89% ของคริปโทเคอร์เรนซีหลัก ๆ เช่น Bitcoin, Ethereum และ Litecoin เป็นโปรเจกต์โอเพนซอร์สแบบกระจายอำนาจ ซึ่งหมายความว่าสามารถดูรหัสต้นฉบับของคริปโทเหล่านี้ได้แบบสาธารณะผ่านแพลตฟอร์มการเขียนโปรแกรมโซเชียลต่าง ๆ เช่น Github ความโปร่งใสระดับนี้จะทำให้นักลงทุนเข้าใจและติดตามความคืบหน้าของคริปโทเคอร์เรนซีที่เฉพาะเจาะจงได้ นอกเหนือจากทีมที่อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์นี้แล้ว นักพัฒนาทั่วโลกยังสามารถมีส่วนร่วมในการเขียนโปรแกรมสำหรับโปรเจกต์บล็อกเชนดังกล่าวเพื่อเร่งความคืบหน้าของการพัฒนาคริปโทเคอร์เรนซีได้โดยการค้นหาและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในรหัสต้นฉบับนั้นได้
ในอีกทางหนึ่งนั้น คริปโทเคอร์เรนซีที่ออกโดยมีเจตนาร้ายเพื่อควบคุมบงการตลาดมักจะไม่เปิดเผยเทคโนโลยีและรหัสต้นฉบับบน GitHub เนื่องจากไม่ได้แสวงหาการพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มต้น ถ้ารหัสต้นฉบับไม่ได้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะบน GitHub คริปโทเคอร์เรนซีที่เกี่ยวข้องนั้นก็จะถูกกำหนดให้ได้รับ TTR ต่ำ ในการประเมิน TTR นั้น Coin-Labs.com จะพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
- การมีอยู่และสภาพของ Whitepaper
- สถานะ README
- สถานะ Commit
- สถานะการจัดการปัญหาของโปรเจกต์
- จำนวนดาว
4. การมีส่วนร่วมในการพัฒนา (DPR)
อัตราการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นดัชนีที่แสดงถึงระดับการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของสมาชิกในทีมพัฒนาคริปโทเคอร์เรนซีของโปรเจกต์นั้น และในแง่ที่กว้างขึ้นอีกก็คือว่า ดัชนีนี้จะประเมินความคืบหน้าโดยรวมของโปรเจกต์ แม้ว่าความกระตือรือร้นของสมาชิกในทีมจะเป็นปัจจัยสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือระดับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการพัฒนา นอกจากนี้ มันก็น่าจะสมเหตุสมผลอยู่ที่จะคาดหวังว่าโปรเจกต์นั้นจะได้รับการเร่งรัดและเตรียมพร้อมอย่างดีหากทีมมีขนาดใหญ่ขึ้น DPR เป็นดัชนีที่ครอบคลุมซึ่งคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาจริงเหล่านี้ทั้งหมด ในการประเมิน DPR นั้น Coin-Labs.com จะพิจารณาปัจจัยตัวแทนดังต่อไปนี้
- จำนวนผู้พัฒนาที่เข้าร่วมในโปรเจกต์
- ความรู้รวมทั้งหมดของสมาชิกในทีมพัฒนา
- ระดับความเชี่ยวชาญของสมาชิกในทีมพัฒนา
- เป้าหมายสูงสุดของโปรเจกต์
- ความคืบหน้าของโปรเจกต์ในปัจจุบัน
- ระยะเวลาที่เหลือจนกว่าการพัฒนาโปรเจกต์จะเสร็จสิ้น
5. ความสามารถในการจดทะเบียน (LAR)
อัตราความสามารถในการจดทะเบียนเป็นดัชนีที่บ่งชี้จำนวนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายที่เหรียญนั้นได้รับการยอมรับ สำหรับบางคริปโทที่จะจดทะเบียนในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายระดับโลกเช่น Binance, Bybit หรือ Coinbase ควรจะต้องผ่านการทดสอบที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง นั่นคือ เพื่อให้คริปโทเคอร์เรนซีได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียนได้ ควรถือว่า “เป็นไปตามข้อกำหนดทั้งหมดที่จะได้รับการจดทะเบียน” หลังจากการวิเคราะห์อย่างยาวนานและละเอียดถี่ถ้วนของผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งหมายความว่า คริปโทเคอร์เรนซีที่จดทะเบียนในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายมากกว่า 40 หรือ 50 แห่งจะถูกกำหนดว่าดีกว่าคริปโทเคอร์เรนซีที่จดทะเบียนในตลาดแลกเปลี่ยน 2 หรือ 3 แห่งในทุก ๆ ด้านหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการจดทะเบียน
LAR เป็นดัชนีที่แสดงถึงสิ่งนี้ และเป็นดัชนีที่เป็นกลางและแม่นยำที่สุดในการแสดงสถานภาพปัจจุบันของคริปโทเคอร์เรนซีที่เฉพาะเจาะจงในบรรดาดัชนีทั้ง 6 ตัว ในการประเมิน LAR นั้น Coin-Labs.com จะพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
- คริปโทได้รับการจดทะเบียนในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายระดับโลก 10 อันดับแรกหรือไม่
- สถานะการจดทะเบียนในตลาดโลกทั้งหมด
6. เงินทุนเคลื่อนย้าย (CFR)
อัตราของเงินทุนเคลื่อนย้ายจะแสดงสถานะของคริปโทเคอร์เรนซีในตลาดทั่วไป คริปโทเคอร์เรนซีที่มี CFR สูงมีแนวโน้มที่จะมีขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นและมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายอย่างแข็งขันมากขึ้น นอกจากนี้ ขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นหมายถึงการซื้อขายที่มีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่ามูลค่าตามที่เป็นจริงของคริปโทเคอร์เรนซีนั้นใกล้เคียงกับมูลค่าที่แท้จริงของมันโดยมีแรงเก็งกำไรในตลาดน้อยกว่า ปัจจุบัน Coin-Labs.com กำหนดให้ BTC เป็นมาตรฐานในการคำนวณ CFR และพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ในการประเมิน CFR
- มูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซีตามราคาตลาด
- อุปทานสูงสุดและอุปทานทั้งหมด
- ปริมาณการแลกเปลี่ยนซื้อขายล่าสุด
- ส่วนแบ่งทางการตลาด
- การลงทุนจากบริษัทหรือสถาบันขนาดใหญ่
ตัวอย่างการให้คะแนนคริปโท
ภาพต่อไปนี้เป็นภาพประกอบของการให้คะแนนคริปโทของเรา
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้คะแนนคริปโท
การให้คะแนนคริปโททำอย่างไร?
การให้คะแนนคริปโทเคอร์เรนซีประกอบด้วย 6 รายการ ในการอธิบายอย่างละเอียด เราได้ประเมินอัตราการเปิดใช้งานของบริษัท กิจกรรมและการสื่อสารบนโซเชียลมีเดีย ความโปร่งใสทางเทคโนโลยี การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ความสามารถในการจดทะเบียน และอัตราของเงินทุนเคลื่อนย้ายของคริปโท และให้คะแนนคริปโทในระดับ 10 คะแนน
ข้อดีของการให้คะแนนคริปโทคืออะไร?
นักลงทุนอาจจะเข้าใจมูลค่าที่แน่นอน วัตถุประสงค์ของการพัฒนา และความเป็นไปได้ของการเติบโตในอนาคตของคริปโทเคอร์เรนซีที่ตนเองกำลังลงทุนอยู่
คริปโทเคอร์เรนซีทั้งหมดที่มีคะแนนต่ำในการให้คะแนนนั้นเป็นเหรียญหลอกลวงหรือไม่?
คริปโทเคอร์เรนซีทั้งหมดที่มีคะแนนต่ำในการให้คะแนนนั้นเป็นเหรียญหลอกลวงหรือไม่? สิ่งนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นความจริงเสมอไป เหมือนกับคริปโทเคอร์เรนซีที่เพิ่งจดทะเบียนไปเมื่อไม่นานนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะรับคะแนนที่ค่อนข้างต่ำในการให้คะแนนคริปโทไม่ได้ ซึ่งก็มีข้อยกเว้น ถ้าพูดแบบนั้น คริปโทเคอร์เรนซีดังกล่าวก็ไม่ใช่เหรียญหลอกลวง ซึ่งคะแนนการให้คะแนนต่ำไม่ได้หมายความว่าเป็นการหลอกลวง